หัวข้อ   “ ผลงานทีมนักกีฬาไทย ในการสู้ศึกอินชอนเกมส์
คนไทย 93.9% พอใจผลงานทีมนักกีฬาไทย ในการสู้ศึกอินชอนเกมส์
โดยประทับใจวอลเล่ย์บอลหญิง ฟุตบอลชาย ตะกร้อ มากที่สุด
58.9% เห็นว่ากรรมการตัดสินเข้าข้างประเทศเจ้าภาพจนน่าเกลียด
57.8% ระบุผลกีฬาไม่ตามเป้าเพราะ ขาดงบฯ พัฒนากีฬา ทั้งสนามซ้อมและอุปกรณ์ทันสมัย
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องด้วยวันที่ 19 กันยายน - 4 ตุลาคม 2557 เป็นช่วงเวลาจัดการแข่งขัน
กีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 17 ที่เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งประเทศไทยได้ส่งนักกีฬา
เข้าร่วมแข่งขันหลายประเภทด้วยกัน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
จึงได้สำรวจความคิดเห็นในหัวข้อ “ผลงานทีมนักกีฬาไทย ในการสู้ศึกอินชอนเกมส์” โดย
เก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,213 คน พบว่า
 
                  คนไทยส่วนใหญ่ ร้อยละ 59.4 ได้ติดตามชมถ่ายทอดสดกีฬา
เอเชียนเกมส์
รองลงมาร้อยละ 18.9 ไม่ได้ชมถ่ายทอดสดแต่ติดตามผลการแข่งขัน
จากช่องทางต่างๆ ขณะที่ร้อยละ 21.8 ไม่ได้ติดตามการแข่งขัน
 
                 โดยกีฬาที่คนไทยคอยลุ้นผลและส่งกำลังใจเชียร์ให้มากที่สุด คือ
กีฬาฟุตบอลชาย คิดเป็น ร้อยละ 38.8
รองลงมาคือ วอลเล่ย์บอลหญิง คิดเป็นร้อยละ
37.8 และตะกร้อ คิดเป็นร้อยละ 9.4
 
                 ส่วนกีฬาที่โชว์ผลงานได้ประทับใจคนไทยมากที่สุดคือ วอลเล่ย์บอลหญิง คิดเป็นร้อยละ 34.2
รองลงมาคือฟุตบอลชาย คิดเป็นร้อยละ 28.3 และตะกร้อ คิดเป็นร้อยละ 16.4
 
                  สำหรับกีฬาที่คนไทยรู้สึกเสียดายที่พลาดเหรียญทองมากที่สุดคือ ฟุตบอลชาย คิดเป็นร้อยละ 57.6
รองลงมาคือ วอลเล่ย์บอลหญิง คิดเป็นร้อยละ 31.9 และแบดมินตัน คิดเป็นร้อยละ 5.9
 
                 เมื่อถามถึงความพึงพอใจในภาพรวมของผลงานทีมนักกีฬาไทยที่ไปแข่งขันกีฬาที่อินชอนเกมส์
พบว่า คนไทยมากถึงร้อยละ 93.9 มีความพึงพอใจ
และมีเพียงร้อยละ 4.9 เท่านั้นที่ไม่พึงพอใจ ที่เหลือร้อยละ 1.2
ไม่แน่ใจ
 
                  ส่วนประเด็นการทำหน้าที่ในภาพรวมของกรรมการผู้ตัดสิน ในการแข่งขันกีฬาครั้งนี้ คนไทยส่วนใหญ่
ร้อยละ 58.9 เห็นว่ามีการตัดสินเข้าข้างประเทศเจ้าภาพจนน่าเกลียด
รองลงมาร้อยละ 30.2 เห็นว่าตัดสินเข้าข้าง
เจ้าภาพแต่พอรับได้ และมีเพียงร้อยละ 6.9 เท่านั้น ที่เห็นว่าเป็นกลางไปตามเกมส์ ที่เหลือร้อยละ 4.0 ไม่แน่ใจ
 
                 นอกจากนี้คนไทยมากถึงร้อยละ 84.6 ยังเห็นว่าฝีมือและมาตรฐานของนักกีฬาไทยในปัจจุบันดีขึ้น
กว่าอดีตที่ผ่านมา
ส่วนร้อยละ 8.9 เห็นว่าฝีมือและมาตรฐานเท่าเดิม และร้อยละ 4.4 เห็นว่าแย่กว่าเดิม ที่เหลือร้อยละ 2.1
ไม่แน่ใจ
 
                  สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้ฝีมือหรือมาตรฐานของนักกีฬาไทยหลายๆ ประเภท ผลงานไม่เข้าเป้า
พลาดโอกาสได้เหรียญรางวัลตามที่คาดไว้ ร้อยละ 57.8 เห็นว่าเกิดจากขาดงบประมาณในการพัฒนากีฬา เช่น
จ้างโค้ช สนามซ้อม อุปกรณ์กีฬาที่ทันสมัย
รองลงมาร้อยละ 46.0 เกิดจากปัญหาภายในของสมาคมกีฬาต่างๆ เช่น
การคอร์รัปชั่น เด็กเส้น และร้อยละ 36.3 เท่ากัน ที่เห็นว่าเกิดจากขาดแคลนหรือขาดการสร้างนักกีฬารุ่นใหม่มาเสริมทัพ
และ ขาดวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ดีเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้กับนักกีฬา
 
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. การติดตามชมการแข่งขันของทัพนักกีฬาไทย ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่เกาหลีใต้

 
ร้อยละ
ติดตามชมถ่ายทอดสด
59.4
ไม่ได้ชมถ่ายทอดสด แต่ติดตามผลการแข่งขัน
18.9
ไม่ได้ติดตาม /ไม่รู้ว่ามีแข่งกีฬาดังกล่าว
21.8
 
 
             2. ประเภทกีฬาที่ประชาชนติดตามลุ้นผลและส่งกำลังใจเชียร์มากที่สุด

 
ร้อยละ
ฟุตบอลชาย
38.8
วอลเล่ย์บอลหญิง
37.8
ตะกร้อ
9.4
มวยสากลสมัครเล่น
4.6
เทควันโด
2.9
ยกน้ำหนัก
1.1
จักรยาน
0.9
เทนนิส
0.7
แบดมินตัน
0.7
กรีฑา
0.6
อื่นๆ อาทิ ยิงปืน โบว์ลิ่ง กอล์ฟ ฯลฯ
2.5
 
 
             3. กีฬาที่โชว์ผลงานได้ประทับใจประชาชนมากที่สุด

 
ร้อยละ
วอลเล่ย์บอลหญิง
34.2
ฟุตบอลชาย
28.3
ตะกร้อ
16.4
จักรยาน
6.2
เทควันโด
4.3
มวยสากลสมัครเล่น
3.2
ยกน้ำหนัก
1.8
เทนนิส
1.6
แบดมินตัน
1.0
กรีฑา
0.5
อื่นๆ อาทิ ยิงปืน โบว์ลิ่ง กอล์ฟ ฯลฯ
2.5
 
 
             4. ประเภทกีฬาที่ประชาชนเสียดายจากการพลาดเหรียญทองมากที่สุด

 
ร้อยละ
ฟุตบอลชาย
57.6
วอลเล่ย์บอลหญิง
31.9
แบดมินตัน
5.9
ยกน้ำหนัก
3.1
กรีฑา
1.5
 
 
             5. ความพึงพอใจในภาพรวมของผลงานทีมนักกีฬาไทยในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งนี้

 
ร้อยละ
พอใจ
93.9
ไม่พอใจ
4.9
ไม่แน่ใจ
1.2
 
 
             6. ความเห็นต่อการทำหน้าที่ในภาพรวมของกรรมการผู้ตัดสิน ในการแข่งขันกีฬาครั้งนี้

 
ร้อยละ
ตัดสินเข้าข้างเจ้าภาพจนน่าเกลียด
58.9
ตัดสินเข้าข้างเจ้าภาพแต่พอรับได้
30.2
เป็นกลางไปตามเกมส์
6.9
ไม่แน่ใจ/ไม่รู้
4.0
 
 
             7. โดยภาพรวมแล้ว ฝีมือหรือมาตรฐานของนักกีฬาไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับอดีตที่ผ่านมา

 
ร้อยละ
ดีขึ้นกว่าเดิม
84.6
เหมือนเดิม
8.9
แย่กว่าเดิม
4.4
ไม่แน่ใจ
2.1
 
 
             8. สาเหตุสำคัญที่ทำให้ฝีมือหรือมาตรฐานของนักกีฬาไทยหลายๆประเภท ไม่เข้าเป้า
                 พลาดโอกาสได้เหรียญรางวัลตามที่คาดไว้

 
ร้อยละ
ขาดงบประมาณในการพัฒนากีฬา เช่น จ้างโค้ช สนามซ้อม
อุปกรณ์กีฬาที่ทันสมัย
57.8
ปัญหาภายในของสมาคมกีฬาต่างๆ เช่น การคอร์รัปชั่น เด็กเส้น
46.0
ขาดแคลนหรือขาดการสร้างนักกีฬารุ่นใหม่มาเสริมทัพ
36.3
ขาดวิทยาศาสตร์การกีฬาที่ดีเพื่อเพิ่มสมรรถนะให้กับนักกีฬา
36.3
เป็นที่ตัวนักกีฬาเองที่ฝึกซ้อมไม่ดี/ไม่มีสมาธิขณะแข่ง
35.0
ขาดโค้ชที่ดี มีประสบการณ์ เชี่ยวชาญในการแก้เกม
32.9
ปัญหาการเมืองในประเทศที่ผ่านมา ทำให้กระทบวงการกีฬา
30.1
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผลงานของทีมนักกีฬาไทยในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์
ที่ประเทศเกาหลีใต้ ในประเด็นต่างๆ รวมถึงความเห็นเกี่ยวกับวงการกีฬาของประเทศไทย เพื่อสะท้อนมุมมองของประชาชน
ให้สังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ ต่อไป
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์
ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการ
ถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 2 – 3 ตุลาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 4 ตุลาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
637
52.5
             หญิง
576
47.5
รวม
1,213
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
199
16.4
             31 – 40 ปี
303
25.0
             41 – 50 ปี
327
26.9
             51 – 60 ปี
255
21.0
             61 ปีขึ้นไป
129
10.7
รวม
1,213
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
780
64.3
             ปริญญาตรี
340
28.0
             สูงกว่าปริญญาตรี
93
7.7
รวม
1,213
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
170
14.0
             ลูกจ้างเอกชน
285
23.5
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
466
38.5
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
74
6.1
             ทำงานให้ครอบครัว
3
0.2
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
154
12.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
46
3.8
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
15
1.2
รวม
1,213
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776